ศิลปะอยู่ทีใจ ของดอกไม้ริมทาง
<<<< จากที่ทิดจิ้มไปแอ่วเมืองเหนือมา ไปแต่ละบ้าน จะมีรูปนักษัตรและพระธาตุคู่กันเกือบทุกบ้าน ซึ่งเป็นฝีมือของช่างเขียนพื้นบ้านที่เขียนกันมานมนาน แหละแล้ว!!! ทิตจิ้ม ก็เกิดไอเดียหัวศิลป์ขึ้นมาทันที ก็เลยคิดอยากเขียนรูปใหม่แต่เอาไอเดียของทิดจิ้มเขียนขึ้นมาใหม่ <<<< เราตามมาดูกันเลย>>>> ว่ามีรูปอะไรกันบ้าง
รูปที่เขียนครั้งแรก มิใช่รูปอะไร แต่เป็นรูปประจำราศี "วอก"หรือ"น้องจ๋อ" ของเรานั้นเอง
ปีวอก
<<<< มาดูความหมายของรูปที่ทิดจิ้มเขียนกันเลย
ปีวอก ก็คือ “ลิง” จึงเลือกใช้ลิงแบบหนุมานมาเป็นแบบในการเขียนครั้งนี้ แล้วเกิดความคิดอีกอย่างก็คือ ฉากหลังอยากให้เห็นเขาพระวิหารด้วยคำบูชาพระธาตุพนม “ปันนะศิริสะมิง ปัพพะเต อุตะมังธาตุ เหทะยัง วะละจิตตัง เสฐะวะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา” เพราะพระธาตุพนมเป็นพระบรมธาตุเจดีย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนสองฝั่งโขง บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้าตามตำนานว่าก่อสร้างโดยกษัตริย์ห้าองค์คือ พระยาจุฬณีพรหมทัต พระยานันทเสน พระยาอินทปัต พระยาคำแดง และพระยาสุวรรณภิงคาร พร้อมไพร่พล ในส่วนลวดลายที่เรือนธาตุนั้นตำนานเล่าว่าตกแต่งโดยพระอินทร์และเหล่าเทวดา มีแผ่นอิฐพระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห้งล้านช้าง ในสมัย พ.ศ. ๒๒๒๓-๒๒๒๕ พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) นำราษฎรจากเวียงจันทร์ ๓,๐๐๐ คนมาปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน ต่อมาทางรัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้นอีกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ แต่ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ เกิดฝนตกหนักและพระธาตุพนมได้ทรุดพังทลายลง แต่ก็ได้รับการบูรณะโดยภาครัฐและเอกชนเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงเป็นประวัติเล่าตามๆกันมาจนถึงปัจจุบันค่ะ แฮ่ะๆ เล่าประวัติซิยาวเลยอ่ะ......แหละแล้วก็ได้รูปนี้ออกมาอ่ะ
<<<< มาดูรูปอื่นกันต่อเลย นะค่ะ ก็เป็นปีระกา นั้นเอง เพราะเป็นปีเกิดของคนเขียนฮ่าๆๆ
ปีระกา
<<<< ความหมายของปีระกา
ปีระกา 2540 ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมายังชัยภูมิของชาวเม็ง ทรงหยุดประทับนั่ง ณ สถานที่หนึ่ง พระญาชมพูนาคราชและพระญากาเผือกได้มาอุปัฏฐาก และมีชาวลัวะผู้หนึ่งนำลูกสมอมาถวายพระองค์ทรงมีพุทธพยากรณ์ว่าที่นี่ในอนาคตจะเป็น "นครหริภุญชัยบุรี" เป็นที่ประดิษฐาน "พระสุวรรณเจดีย์" ซึ่งบรรจุธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูก ธาตุกระดูกนิ้วมือและธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ในครั้งนั้นพระญาทั้งสองได้ทูลขอพระเกศาธาตุ นำไปบรรจุในกระบอกไม้รวกและโกศแก้วใหญ่ ไว้ในถ้ำใต้ที่ประทับ ต่อมาในสมัยพระญาอาทิตยราช ผู้ครองเมืองหริภุญชัย (ราว พ.ศ. ๑๔๒๐) ได้เสด็จลงห้องพระบังคน แต่มีกาขัดขวางมิให้เข้า ภายหลังทรงทราบว่าที่แห่งนั้นเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ จึงทรงให้รื้อวังและขุดพระบรมธาตุมาบรรจุโกศทองคำ และสร้างมณฑปปราสาทเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุหริภุญชัยได้รับการบูรณะเรื่อยมา โดยพระเจดีย์องค์ปัจจุบันบูรณะในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหเชียงใหม่ เมื่อ ๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว คำบูชาพระธาตุสุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐังวะระ โมลีธาตุรัง อุฬเสฏฐัง สะหะอังคุละผัฏฐัง กัจจายะโน นามิตปัตตะ ปุรังสิเนนะ เมยหัง ปะนะมามิธาตุง สิระสา นะมามิ อะหังวันทามิ ทูระโตฯ ภาพวาดของ ปีระกา ทางทิดจิ้มจะมีแนวความคิดดีๆเยอะเลย เพราะเป้นปีเกิดของทิดจิ้มเองส่วนตัวชอบไก่ชน สีสันต้องการให้หวานๆนิดๆ สำหรับจีวรพระพุทธเจ้าใช้สีออกม่วงๆเพื่อความเด่น แทนสีทึมๆๆ ถ้าสังเกตุดีๆกระบอกไม้ไผ่ที่ใส่พระเกศาธาตุในบ่อมรกตซึ่งจินตนาการเองทั้งหมดเลยอ่ะ...ฮ่าๆๆสวยๆๆๆคับ
<<<< ตามมาติดก็เป็นรูปประจำราศี ปีจอ อ่ะ
ปีจอ
นี่แหละฝีมือ “ทิดจิ้ม” ล้วนๆเลยแหละค่ะ เป็นไงกันบ้างสวยใช่อ่ะป่าว ถ้าสนใจติดต่อทิดจิ้มนะค่ะ เผื่อใครสนใจประดับฝาบ้านนะค่ะ
3 Responses to ศิลปะอยู่ทีใจ ของดอกไม้ริมทาง
ภาพมีความน่าสนใจคะ
ทำให้น่าค้นหาเรื่องราวและประวัติของตัวที่นำมาแสดง
สวยมากเลยพี่เรา แต่วาดมาติดฝาบ้านมั่งจิ
hot
สบายมาก ขอเวลาหน่อย เด๋วเริ่มเขียนเมื่อไหร่ แล้วจะแจกแถมเลยอ่ะฮอท
ขอบใจนู๋เดียร์ด้วยขอรับ
ทิดจิ้ม....
ร่วมแสดงความคิดเห็น?