ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดแก้ว พลาสติก โลหะ เดี๋ยวนี้มีร้านรับซื้อของเก่าผุดขึ้นมากมาย เชื่อว่าใกล้บ้านคุณเองก็คงต้องมีสักแห่ง หรือมีนักเก็บขยะสักคนอยู่แถวนั้น อาจนัดวันให้เขาเข้ามารับสักเดือนละครั้งจะยกให้หรือขายเป็นเงินเล็ก ๆน้อย ๆก็ตามแต่สะดวกค่ะ ส่วนใครที่คิดว่าวิธีนี้ไม่สะดวกก็อาจทิ้งแบบเดิม แต่ลองเพิ่มถังหน้าบ้านอีกสักใบ หรือแยกถุงออกมาแล้วเขียนป้ายติดไปเลยว่าคือขยะรีไซเคิล เจ้าหน้าที่เขายินดีมากเลยครับ และจะจัดการแยกทิ้งให้เรียบร้อย

จัดการขยะอย่างไรดี
เราเชื่อว่าหลายคนรู้จักการแยกขยะพื้นฐานอยู่แล้ว แต่บางคนอาจมีความรู้สึกว่าต่อให้เราแยกไปแล้วพนักงานเก็บขยะก็นำไปรวมกันอยู่ดี แล้วจะแยกไปทำไม ใครที่มีความคิดแบบนี้คงต้องเปลี่ยนแล้วล่ะครับ เพราะว่าในความเป็นจริงเจ้าหน้าที่บอกกับเราว่าถ้าแยกขยะมาแล้วเขาก็จะไม่นำมาปนกัน ยิ่งตอนนี้ประชาชนส่วนใหญ่ก็หันมาแยกขยะกันมากขึ้น (ใครไม่ได้ทำระวังเชยนะครับ) เจ้าของบ้านบางหลังถึงกับแยกถังเสร็จเรียบร้อย ช่วยให้พนักงานเก็บขยะทำงานง่ายขึ้นเยอะเลยครับ โดยทั่วไปนั้นขยะในครัวเรือนแต่ละวันมักจะมีไม่กี่ประเภทอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากนักถ้าเราจะคัดแยกก่อนในระดับหนึ่ง ใครเพิ่งเริ่มต้นอาจลองทำง่าย ๆดังนี้นะครับ


1 . เศษอาหาร รวมทั้งวัสดุธรรมชาติย่อยสลายได้ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้
นอกจากการทิ้งให้เป็นหน้าที่ของผู้เก็บขยะแล้ว เราอาจลดขยะส่วนนี้ได้ด้วยการนำไปทำปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำใช้ภายในครัวเรือน นอกจากจะไม่สูญเปล่าแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อต้นไม้ด้วย


2. ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดแก้ว พลาสติก โลหะ
เดี๋ยวนี้มีร้านรับซื้อของเก่าผุดขึ้นมากมาย เชื่อว่าใกล้บ้านคุณเองก็คงต้องมีสักแห่ง หรือมีนักเก็บขยะสักคนอยู่แถวนั้น อาจนัดวันให้เขาเข้ามารับสักเดือนละครั้งจะยกให้หรือขายเป็นเงินเล็ก ๆน้อย ๆก็ตามแต่สะดวกค่ะ ส่วนใครที่คิดว่าวิธีนี้ไม่สะดวกก็อาจทิ้งแบบเดิม แต่ลองเพิ่มถังหน้าบ้านอีกสักใบ หรือแยกถุงออกมาแล้วเขียนป้ายติดไปเลยว่าคือขยะรีไซเคิล เจ้าหน้าที่เขายินดีมากเลยครับ และจะจัดการแยกทิ้งให้เรียบร้อย


3. ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ แบตแตอรี่ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์
ขยะเหล่านี้ไม่ใช่ขยะที่เกิดเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นอาจแยกขยะส่วนนี้ไว้ต่างหาก พอได้จำนวนมากแล้วจึงรวบรวมให้เจ้าหน้าที่ครั้งหนึ่ง โดยติดฉลากให้เรียบร้อยว่าภายในนั้นมีอะไรบ้าง ปัจจุบันสถานที่หลายแห่งก็มีจุดรับเฉพาะ เราสามารถนำไปทิ้งตามสถานที่ดังกล่าวก็ได้ เช่น กล่องรับแบตเตอรี่เก่าตามห้างสรรพสินค้า ส่วนหลอดฟลูออเรสเซนต์หากมีปริมาณมากสามารถแจ้งไปที่ กรมควบคุมมลพิษ เพื่อจัดเก็บ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2298-2436-8) หรือติดต่อไปยังผู้ผลิตสินค้านั้นโดยตรงให้นำกลับไปรีไซเคิลก็ได้

เก็บอะไรวันไหน
ในต่างประเทศนั้นการแยกขยะเป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ ยกตัวอย่างประเทศใกล้ตัวที่มีการจัดการขยะที่ดีมากคือประเทศญี่ปุ่น ในแต่ละเมืองก็จะมีระบบการคัดแยกประเภทขยะที่แตกต่างกันไป ตัวอย่าง การเก็บขยะเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ลองมาดูกันว่าเขาแยกขยะละเอียดแค่ไหน
1. ขยะเผาได้
- เศษอาหาร วัสดุที่ทำจากต้นไม้ เก็บอาทิตย์ละสองครั้ง
2. ขยะเผาไม่ได้
- กระป๋อง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เก็บอาทิตย์ละครั้ง
- วัสดุโลหะ กระทะ เก็บอาทิตย์ละครั้ง
- ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ แก้ว เศษแก้ว หลอดไฟ เก็บอาทิตย์ละครั้ง (เก็บวันเดียวกับขยะเผาได้)
- พลาสติกที่มีเครื่องหมายรีไซเคิลทั้งหมด ได้แก่ ทิ้งที่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน ณ จุดรับทิ้ง
ขวดแชมพู น้ำยาต่าง ๆ หลอดยาสีฟัน
ตาข่ายโฟมใส่ผลไม้ ถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฝาขวดต่าง ๆ
ถุงพลาสติก ของทำจากพลาสติกแข็ง
ถาดใส่อาหารที่เผาไม่ได้ (โฟมหรือตะกั่ว)
- เสื้อผ้า เก็บเดือนละ 2 ครั้ง
- หนังสือพิมพ์ กล่องนม เก็บเดือนละ 2 ครั้ง
- ขยะขนาดใหญ่กว่า 30 เซนติเมตร โทรศัพท์แจ้งเก็บ หรือแจ้งทางอินเทอร์เน็ต
3. ขยะที่เก็บไม่ได้ แอร์ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ ต้องแจ้งผู้ผลิตทำการรีไซเคิล หรือขายที่ร้านมือสอง

แล้วประเทศไทยล่ะ เป็นอย่างไรบ้าง
บ้
ที่มา:
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) www.codi.or.th
นิตยสารสารคดี ฉบับเดือนมีนาคม 2552

http://www.baanlaesuan.com/house_preview.aspx?articleId=2830